วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

“โรคผิวหนัง” กับ “นักกีฬา”

“โรคผิวหนัง” กับ “นักกีฬา”



         ปัจจุบันคนไทยใส่ใจสุขภาพ หันมาเล่นกีฬาและออกกำลังกายกันมากขึ้น ส่งผลดีต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก นพ.ประวิตร พิศาลบุตร แพทย์อเมริกันบอร์ดสาขาโรคผิวหนังและภูมิแพ้ผิวหนัง บอกว่า สิ่งที่อยากฝากเตือนให้พึงระวังคือ โรคผิวหนังและการบาดเจ็บของผิวหนังที่อาจเกิดขึ้นได้ มีดังต่อไปนี้
นิตยสารหมอชาวบ้าน
คอลัมน์ ผิวสวย หน้าใส
สิงหาคม ๒๕๕๓
นายแพทย์ประวิตร พิศาลบุตร


    โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) ...มักไม่หายขาด

           พบโรคสะเก็ดเงินได้ทั่วโลกประมาณร้อยละ ๒ ของประชากร เป็นในชายและหญิงเท่ากัน โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่มีหลายรูปแบบ คือ
โรคสะเก็ดเงินชนิดปื้นนูนหนาขนาดใหญ่ และเป็นเรื้อรัง พบได้บ่อย ปื้นมีขอบเขตชัดเจน, สีออกชมพูถึงแดง, มีสะเก็ดสีเงินปกคลุม พบที่ข้อศอก, ข้อเข่า, แขนขา และหลังด้านล่าง,
โรคสะเก็ดเงินรูปหยดน้ำ พบบ่อยที่สุดในเด็ก, วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ตอนต้น เป็นปื้นนูนขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า ๑ ซม.จำนวนมากตามลำตัว, แขนขา อาจพบหลังการเจ็บคอ,
โรคสะเก็ดเงินตามซอกพับ พบผื่นที่ขาหนีบ, รักแร้ และใต้ราวนม,
โรคสะเก็ดเงินที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ผื่นชนิดนี้อาจหนามาก และทำให้ฝ่ามือ ฝ่าเท้าแตก และเจ็บ,
โรคสะเก็ดเงินชนิดตุ่มหนองทั่วร่างกาย มักรู้สึกไม่สบาย, มีไข้ และเจ็บผิวหนัง,
โรคสะเก็ดเงินชนิดเป็นผื่นแดงทั่วร่างกาย คือมีผิวหนังอักเสบแดงร้อยละ ๙๐ ของร่างกายขึ้นไป

       อาจพบโรคสะเก็ดเงินเป็นที่หนังศีรษะ โดยเฉพาะตามแนวไรผม และยังพบโรคสะเก็ดเงินของเล็บ ลักษณะคือเล็บมีหลุมเล็กๆ, เล็บหนาผิดรูปร่าง บางรายพบว่าเนื้อใต้เล็บมีจุดสีเหลือง และอาจพบเล็บเผยอ พบว่าผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินประมาณร้อยละ ๕-๓๐ อาจพบโรคสะเก็ดเงินของข้อร่วมด้วย มักเป็นที่ข้อนิ้วส่วนปลาย

       โรคสะเก็ดเงินอาจกำเริบได้จากปัจจัยหลายอย่าง เช่น จากยาบางตัว, ความเครียด, การสูบบุหรี่, การดื่มแอลกอฮอล์, โรคอ้วน และการติดเชื้อไวรัสเอดส์ (HIV)

การฉีดโบท็อกซ์ (Botox)

     การฉีดโบท็อกซ์ (Botox)
                             Botulinum toxin in dermatology

    นพ. ประวิตร พิศาลบุตร

           Botulinum toxin เป็นผลิตภัณฑ์จาก Clostridium botulinum ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบในดิน และตะกอนในทะเล พบสปอร์ของแบคทีเรียตัวนี้ในพืชผักผลไม้ และอาหารทะเล แบคทีเรียตัวนี้สร้างสารพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) คือ botulinum toxin ที่ยับยั้งการหลั่ง acetylcholine ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว (flaccid paralysis)

            ปัจจุบันมีการใช้สารพิษตัวนี้ในการรักษาโรคหลายชนิด ประมาณกันว่าการใช้สารพิษโบทูลินัมในปัจจุบันนั้น ครึ่งหนึ่งเป็นการใช้แบบนอกเหนือจากที่ได้รับอนุมัติมา (off-label, extra-label use, nonapproved use หรือ unapproved use) ในสหรัฐอเมริกา (และในอีกหลายประเทศ) เมื่อมีการอนุมัติให้ใช้ยาแล้ว แพทย์อาจนำยานั้นมารักษาอาการหรือโรคอื่นที่แพทย์เห็นว่าเหมาะสมได้ อย่างไรก็ตามห้ามบริษัทยาและแพทย์โฆษณาการใช้ยาในลักษณะ off-label. เมื่อไม่นานมานี้ FDA สหรัฐอเมริกาได้เปลี่ยนแปลงชื่อตัวยา และสรุปข้อบ่งชี้ในการใช้ผลิตภัณฑ์สารพิษโบทูลินัมตามที่ FDA สหรัฐอเมริกาอนุมัติให้ใช้ และได้วางแนวทางและข้อควรระวังใหม่แก่บุคคลากรทางการแพทย์ที่ต้องใช้ยากลุ่มนี้

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

แมลงไชชอนจริง vs แมลงไชชอนหลอก ?!?

นิตยสาร หมอชาวบ้าน
คอลัมน์ ผิวสวย หน้าใส
กันยายน ๒๕๕๓
นายแพทย์ประวิตร พิศาลบุตร

      แมลงไชชอนจริง vs แมลงไชชอนหลอก ?!?
     
       เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมามีกรณีพบโรคประหลาดมีแมลงออกมาจากผิวหนังในผู้ป่วยที่ลำปาง และชุมพร ซึ่งในที่สุดสรุปว่าน่าเข้าข่ายโรคจิตหลงผิดทางผิวหนัง จึงขอถือโอกาสนี้เล่าเรื่องของแมลงหรือปรสิตที่ไชชอนผิวหนังได้จริง และเรื่องของแมลงหรือปรสิตที่ไชชอนหลอกๆ คือไม่มีตัวตนจริงแต่ผู้ป่วยคิดไปเอง โดยขอเล่าถึงกรณีหลังคือไชชอนหลอกๆ ก่อน



โรคจิตหลงผิดว่ามีปรสิตที่ผิวหนัง (delusions of parasitosis)
ภาพผู้ป่วยจากDavid T Robles MD PhD, Sharon Romm MD, Heidi Combs MD, Jonathan Olson BS, Phil Kirby MD. Delusional disorders in dermatology: a brief review. Dermatology Online Journal 14 (6): 2.

อาการคันบั้นท้ายพบบ่อย

หมอชี้อาการ คันบั้นท้าย พบบ่อย   
มีหลายสาเหตุ

นสพ.มติชน
7 กันยายน 2553


      นายแพทย์ประวิตร พิศาลบุตร แพทย์โรคผิวหนัง เปิดเผยว่า อาการคันก้นพบได้บ่อย และทำลายทั้งสุขภาพกาย, ใจ และบุคลิกภาพ โดยมักคันที่รอบรูทวารหนักหรือคันเข้าไปในรูทวารหนักพบในชายมากกว่าหญิง เหตุที่พบบ่อยคือการทำความสะอาดบริเวณนี้ไม่ดีพอ พบว่าอาหารที่ใส่เครื่องเทศ, อาหารรสจัดล้วน ทำให้อาการคันบั้นท้ายกำเริบได้ มีอาการท้องเสีย ท้องผูก การใช้กระดาษชำระเช็ดแรงๆ การนุ่งยีนส์คับ ขี่ม้า ขี่จักรยาน ฝีคัณฑสูตรล้วนมีส่วนทำให้คันได้ บางคนเป็นพยาธิเส้นด้ายจะคันมากตอนกลางคืน การติดเชื้อรา เชื้อยีสต์ กระทั่งเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ หรือเริม ก็ทำให้เกิดอาการคันนี้ได้ โรคสะเก็ดเงินที่มีปื้นแดงมีขุยขาวหนา หรือโรคเซ็บเดิร์มซึ่งเป็นรังแคของผิวหนัง มักเป็นตามร่องก้นและรอบทวารหนัก ก็ทำให้เกิดอาการคันก้นได้บ่อย ผู้ที่กินยารักษาสิวบางตัว ยาจะทำลายแบคทีเรียเจ้าถิ่นที่คอยคุ้มครองผิวหนังอยู่ ทำให้เชื้อยีสต์และเชื้อแบคทีเรียแปลกปลอมโตเร็วขึ้น จึงเกิดอาการคันก้นได้บ่อย ความเครียดก็ทำให้คันได้

ยาทารักษาฝ้า

วารสารคลินิก
เวชปฏิบัติปริทัศน์
ฉบับกรกฎาคม พ.ศ. 2551

โรค ฝ้า ในเวชปฏิบัติ
(Melasma in Clinical Practice)


        ยาทารักษา ฝ้า

ประวิตร พิศาลบุตร พ.บ., เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
Diplomate, American Board of Dermatology
Diplomate, American Subspecialty Board of Dermatological Immunology,
Diagnostic and Laboratory Immunology
อาจารย์พิเศษ, ภาควิชาเภสัชกรรม, คณะเภสัชศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     การรักษาฝ้าส่วนใหญ่ใช้ยาทาให้สีจางลง ซึ่งมีทั้งยาที่ผ่านการศึกษาและนำมาใช้กันแพร่หลาย และ ยาทากลุ่มใหม่ที่กำลังวิจัยและทดลองใช้
      
       ในการใช้ยาทารักษาฝ้า ควรมีความเข้าใจพื้นฐานของกระบวนการสร้างเม็ดสี เพื่อให้เข้าใจกลไกการออกฤทธิ์ของยารักษาโรคฝ้าขนานต่างๆ เม็ดสีเมลานินถูกสังเคราะห์ผ่านปฏิกิริยาอ็อกซิเดชันต่อเนื่อง โดยเริ่มจากกรดอะมิโน tyrosine และ เอนซัยม์ tyrosinase โดยที่เอนซัยม์ tyrosinase จะเปลี่ยน tyrosine เป็น dihydroxyphenylalanine (DOPA) และเปลี่ยนต่อเป็น dopaquinone จากนั้นโดยกระบวนการ auto-oxidation สาร dopaquinone จะเปลี่ยนเป็น dopachrome ต่อจากนั้นเอนซัยม์ dopachrome tautomerase และ DHICA oxidase เปลี่ยน dopachrome เป็น dihydroxyindole หรือ dihydroxyindole-2-carboxylic acid (DHICA) ทำให้เกิดเม็ดสี eumelanin ซึ่งมีสีน้ำตาล-ดำ ในกรณีที่มี cysteine หรือ glutathione สาร dopaquinone จะถูกเปลี่ยนเป็น cysteinyl DOPA หรือ glutathione DOPA ทำให้เกิดเม็ดสี pheomelanin ซึ่งมีสีแดง-เหลือง.

คำถามเหมาโหลเกี่ยวกับโรคสิว (The Dozen Acne FAQs)

วิชัยยุทธจุลสาร ฉบับพฤษภาคม-สิงหาคม 2553
คำถามเหมาโหลเกี่ยวกับโรค สิว
(The Dozen Acne FAQs)

นายแพทย์ประวิตร พิศาลบุตร
แพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Diplomate, American Board of Dermatology
Diplomate, American Subspecialty Board of Dermatological Immunology
อาจารย์พิเศษภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร ____________________________________________________________________________________

     โรค สิว เป็นโรคผิวหนังที่พบบ่อยที่สุด หลายคนมีความเชื่อว่าสิวเป็นแค่ปัญหาความงาม ไม่ต้องรักษาก็หายเองได้ แท้ที่จริงแล้วปัจจุบันจัดว่าสิวเป็น “โรคเรื้อรัง” ที่ต้องการการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง
         และโรคสิวนั้นนอกจากก่อความเจ็บป่วยทางร่างกายแล้ว ยังส่งผลเสียต่อจิตใจอีกด้วย จากการประชุมของแพทย์ผิวหนังทั่วโลกใน “กลุ่มพันธมิตรพิชิตสิว” (Global Alliance to Improve Outcomes in Acne) เสนอว่า ต้องรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจว่าสิวเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งทั่วไปแพทย์สามารถรักษาสิวให้หายได้แต่มักกลับเป็นซ้ำได้บ่อย การรักษาสิวที่ถูกต้องจึงต้องรวมทั้งการให้ยาเพื่อให้สิวหาย และยังต้องใช้ยาต่อเนื่องไปอีกเพื่อไม่ให้สิวกำเริบใหม่ ผู้ที่เป็นสิวจึงต้องเข้าใจว่า สิวเป็นโรคเรื้อรังที่มีอาการกำเริบและอาการสงบสลับกันไปอย่างต่อเนื่องกันนาน พบเสมอว่าผู้ป่วยสิวทั่วโลกรวมทั้งในไทยจะใช้ยาแค่เพื่อรักษาสิวให้หาย แต่ไม่ได้ใช้ยาเพื่อป้องกันไม่ให้สิวเกิดขึ้นใหม่ สิวที่ไม่ได้ดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ทำให้เกิดแผลเป็นทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้ผู้ป่วยขาดความมั่นใจ ซึมเศร้า และกระวนกระวาย