วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สวยแบบต้องเสี่ยงและสวยแบบเพียงพอ...เตือนวัยรุ่นคลั่งขาว ระวังอันตราย


หมอชาวบ้าน ฉบับ ๓๖๙
เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓
เรื่องเด่นจากปก

สวยแบบต้องเสี่ยงและสวยแบบเพียงพอ...เตือนวัยรุ่นคลั่งขาว ระวังอันตราย

นพ.ประวิตร พิศาลบุตร
แพทย์โรคผิวหนัง
ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร
________________________________________________________________________________

ปัจจุบันพบบ่อยว่าวัยรุ่นให้ความสำคัญกับการมีรูปร่างหน้าตาดี การมีผิวพรรณสดใส ซึ่งก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดอะไร
หากหนทางที่ได้มานั้นเป็นไปโดยธรรมชาติ เช่น จากการรับประทานอาหารให้ครบหมู่ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับพบว่า วัยรุ่นบางส่วนหมกมุ่นอยู่กับการดูแลรูปร่างหน้าตาตนเอง ความอยากมีผิวขาวใส
ยอมทุ่มเททั้งเวลาและเงินทองกับสิ่งภายนอกเหล่านี้ จนบางคนให้เวลากับหน้าที่หลักคือการศึกษาน้อยมาก

ผิวขาวใส...ดีจริงหรือ ?

ที่จริงแล้วคนมีผิวขาวน่าจะเรียกว่าเป็นผู้มีโชคไม่ดีนัก เพราะผิวขาวสามารถกลั่นกรองอันตรายจากแสงแดดน้อยกว่าคนผิวดำ
ใต้ผิวหนังของเรามีเม็ดสีที่เรียกว่า "เมลานิน" กระจายตัวอยู่ ซึ่งทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันผิวหนังจากรังสีในแสงแดดตามธรรมชาติ
และทำให้สีผิวแตกต่างกันไป คนผิวขาวนั้นที่จริงน่าจะกล่าวว่าเป็นคนอาภัพ เพราะมีเม็ดสีขนาดเล็ก
เวลาที่โดนแสงแดดจัดๆ ทำให้ผิวหนังไหม้แดดได้เร็ว ลองสังเกตดูคนต่างชาติที่มีผิวขาว พบว่าจะมีผิวตกกระ ผิวเหี่ยวแก่เร็วกว่า
และยังเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังสูงกว่าพวกเราคนไทยที่มีผิวเหลืองหรือผิวที่คล้ำกว่า
และนับวันโลกเราจะได้รับอันตรายจากแสงแดดมากขึ้น เพราะชั้นโอโซนถูกทำลายให้บางลงจนเกิดภาวะโลกร้อนไปทั่ว
เคยมีคนทำนายว่าหลายๆ พันปีต่อนี้ไป พื้นโลกจะได้รังสีมากขึ้นเรื่อยๆ คนผิวดำจะเป็นเพียงเผ่าพันธุ์สุดท้ายที่ยังเหลือชีวิตรอดอยู่ได้

อาการคันอาจส่งสัญญาณว่าเป็นโรคอื่นร่วมด้วย

อาการคันอาจส่งสัญญาณว่าเป็นโรคอื่นร่วมด้วย


ปัจจุบันพบว่าอาการคันเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ได้บ่อยมาก  โดยยังพบได้บ่อยว่าอาการคันนั้นอาจสัมพันธ์กับโรคทางกายตามระบบอย่างอื่นด้วย

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายแพทย์ประวิตร พิศาลบุตร แพทย์โรคผิวหนัง เปิดเผยในบทความ
วิชาการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ (วารสารคลินิก) ฉบับเดือนตุลาคม 2552 นี้ว่า
อาการคันเป็นความรู้สึกไม่สบายผิวหนังที่ทำให้อยากเกา
ประมาณว่าผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการคันร้อยละ 10 - 50

จะตรวจพบว่ามีโรคทางกายที่เป็นสาเหตุของอาการคันร่วมด้วย คืออาจพบ

อาการคันในผู้ป่วยโรคไต ซึ่งมักคันเป็นครั้งคราว หรืออาจคันต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืน
อาการคันมักกำเริบเวลากลางคืน หรือระหว่างทำการฟอกไตหรือเพิ่งทำเสร็จ และมักมีผิวแห้งทั่วไป,

ส่วนอาการคันในผู้ป่วยโรคตับ มักคันเป็นช่วงๆ คันไม่มากนัก อาจเป็นเฉพาะที่ หรือกระจายทั่วตัว มักคันมากที่มือและเท้า และตำแหน่งที่สวมเสื้อผ้ารัดรูป อาจพบผิวสีเหลืองที่เรียกดีซ่าน
ไฝแดงลักษณะเหมือนแมงมุม เต้านมโตในผู้ชาย ก้อนไขมันสีเหลืองมักเป็นที่หนังตาบน ม้ามโต ผิวมีสีโคลน,

อาการคันจากโรคเลือดมักคันเฉพาะที่ ซึ่งมักเป็นที่บริเวณรอบทวารหนัก และที่อวัยวะเพศหญิง ในโรคเลือดบางอย่างอาจคันหลังสัมผัสน้ำ มักเป็นหลังอาบน้ำร้อน หรืออาบฝักบัว
ผู้ป่วยที่เป็นโรคโลหิตจางจากขาดเหล็กจะมีผิวซีด อาจมีลิ้น และมุมปากอักเสบ,

อาการคันจากโรคต่อมไร้ท่อ มักเป็นทั่วร่างกาย และสัมพันธ์กับอาการของโรคที่เป็น
ผู้ป่วยเบาหวานบางรายอาจคันที่เฉพาะที่ พบบ่อยที่อวัยวะเพศหญิงหรือทวารหนัก
พบบ่อยว่ามีการติดเชื้อยีสต์และเชื้อราร่วมด้วย
ในผู้ป่วยที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจะมีเล็บเปราะ, ผิวและผมหยาบแห้ง
ส่วนผู้ป่วยที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากจะมีผิวอุ่น, เรียบ และละเอียด
อาจมีโรคลมพิษเรื้อรัง อาการแสดงอื่นคือ มีไข้, หัวใจเต้นเร็ว, ตาโปน

อาการคันในมะเร็ง มักคันรุนแรงปานกลางถึงคันมาก ตำแหน่งที่พบบ่อยคือแขนด้านนอกและหน้าแข้ง พบว่าอาการคันในรูจมูกอาจสัมพันธ์กับเนื้องอกในสมอง
ส่วนอาการคันในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองอาจนำมาก่อนการวินิจฉัยโรคนานถึง 5 ปี
อาการคันในกลุ่มนี้จะคันจนทนไม่ได้, คันแบบต่อเนื่อง และคันรุนแรงมาก อาการคันจากโรคเอดส์ อาจพบผื่นลอกเป็นขุยที่ใบหน้า (seborrheic dermatitis), ผิวแห้ง, มีการติดเชื้อที่ผิวหนัง เช่น ติดเชื้อรา, เชื้อไวรัส

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โรคจิตหลงผิดของผิวหนัง

เวชปฏิบัติปริทัศน์ วารสารคลินิก
ความสัมพันธ์ระหว่างจิตใจและผิวหนัง (The Mind and Skin Connection)
ตอนจบ... โรคจิตหลงผิดของผิวหนัง

ประวิตร พิศาลบุตร พ.บ. , เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
Diplomate, American Board of Dermatology
Diplomate, American Subspecialty Board of Dermatological Immunology
อาจารย์พิเศษภาควิชาเภสัชกรรม, คณะเภสัชศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข,สภาผู้แทนราษฎร

         โรคจิตหลงผิด (delusional disorder) เป็นความผิดปกติทางจิตใจที่มีอาการหลงผิดหนึ่ง หรือหลายอย่าง แต่ไม่มีอาการ และอาการแสดงของโรคทางจิตเวชอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น schizophrenia และไม่มีอาการประสาทหลอน (hallucinations)ที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่มีอาการหลงผิดบางรายอาจพบอาการประสาทหลอนทางสัมผัส (tactile hallucinations)หรือประสาทหลอนทางกลิ่น (olfactory hallucinations) หากว่าอาการเหล่านี้เกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาของความหลงผิด และอาการไม่ได้เป็นจากผลโดยตรงด้านสรีรวิทยาจากสาร (เช่น สารเสพติด ยา)หรือจากภาวะความเจ็บป่วยทางกาย โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคจิตหลงผิด จะทำงานได้ตามปกติ และไม่แสดงพฤติกรรมที่แปลกพิลึกพิลั่นออกมา แต่เดิมเคยเรียกผู้ป่วยโรคจิตหลงผิดว่า paranoia ปัจจุบันคำว่า paranoia หมายถึงอาการของผู้ป่วย (คือความกลัวที่มากเกินไปและไร้เหตุผล) ไม่ใช้คำว่า paranoia ในการวินิจฉัยชนิดของโรค โรคจิตหลงผิดจัดอยู่ใน ICD-10:F22.

        ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคจิตหลงผิดของผิวหนัง (delusional disorders in dermatology) ที่จะมาพบแพทย์ผิวหนังและแพทย์เวชปฏิบัติมากกว่าที่จะพบจิตแพทย์ เพราะผู้ป่วยเชื่อว่าตนเองมีอาการทางผิวหนัง ได้แก่ delusions of parasitosis, Morgellons disease,body dysmorphic disorders และ olfactory reference syndrome ดังมีรายละเอียดดังนี้

ความผิดปกติชนิดโซมาโตฟอร์มของผิวหนัง

เวชปฏิบัติปริทัศน์ วารสารคลินิก

ความสัมพันธ์ระหว่างจิตใจและผิวหนัง
(The Mind and Skin Connection)
ตอนที่ 2...ความผิดปกติชนิดโซมาโตฟอร์มของผิวหนัง


ประวิตร พิศาลบุตร พ.บ. , เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง Diplomate, American Board of Dermatology Diplomate, American Subspecialty Board of Dermatological Immunology อาจารย์พิเศษภาควิชาเภสัชกรรม, คณะเภสัชศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข, สภาผู้แทนราษฎร

ในตอนนี้จะกล่าวถึง ความผิดปกติชนิดโซมาโตฟอร์มของผิวหนัง (somatoform disorders in dermatology)ความผิดปกติชนิดโซมาโตฟอร์ม (somatoform disorders) หรือบางครั้งเรียกง่ายๆ ว่า ป่วยก่อนป่วย หรือ โรคที่ไม่เป็นโรคนี้ พบได้บ่อยขึ้นมากในเวชปฏิบัติ เป็นกลุ่มอาการที่มีอาการแสดงทางร่างกายเหมือนเป็นโรค หรือเกิดจากการบาดเจ็บ ที่หาสาเหตุที่แท้จริงว่าเป็นโรคทางกาย, โรคทางจิตใจ หรือจากการได้รับสารไม่ได้ รวมไปถึงอาการหลายอย่าง เช่นปวดศีรษะ, คลื่นไส้, ซึมเศร้า และวิงเวียนศีรษะ ลักษณะเฉพาะของความผิดปกติชนิดโซมาโตฟอร์ม คือไปพบแพทย์เพื่อขอรับการตรวจหลายๆ ครั้งด้วยความเข้าใจว่าตนเองเป็นโรค แต่แพทย์ตรวจไม่พบการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และได้ยืนยันให้ผู้ป่วยรับทราบ ในการประกอบเวชปฏิบัติโรคผิวหนัง จะพบทั้งผู้ป่วยที่มีลักษณะของรอยโรคผิวหนังที่เห็นเด่นชัดว่า เป็นโรคผิวหนังชนิดใดชนิดหนึ่งอย่างชัดเจน และก็ยังพบกลุ่มผู้ป่วยโรคผิวหนังที่ขาดอาการที่สามารถตรวจพบได้จริง มีการศึกษาแสดงว่าผู้ป่วยที่มาตรวจที่คลินิกผู้ป่วยนอกโรคผิวหนังในโรงเรียนแพทย์ พบว่าร้อยละ 18.5 มีความผิดปกติชนิดโซมาโตฟอร์มนี้
ความผิดปกติชนิดโซมาโตฟอร์มทางผิวหนังมีหลายรูปแบบ เช่น อาการคัน, เจ็บ, paresthesia(ความรู้สึกผิดปกติที่ไร้วัตถุเหตุ เช่น อาการคัน, อาการชา),ความรู้สึกว่ารูปร่างหน้าตาไม่ได้สัดส่วน,กลุ่มอาการมลพิษจากสิ่งแวดล้อม,หรือกลัวหน้าแดง มักมีความผิดปกติทางจิตใจและสังคมร่วมด้วย อาการต่างๆ เป็นตามคำบอกเล่าของผู้ป่วย แต่ไม่สามารถตรวจพบได้จริงโดยแพทย์ สามารถแบ่งโซมาโตฟอร์มของผิวหนังได้เป็น somatisation disorders,hypochondriacal disorders,somatoform autonomic disorders,persistent somatoform pain disorders และ other,undifferentiated somatoform disorders โดยมีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้

ความสัมพันธ์ระหว่างจิตใจและผิวหนัง

วารสารคลินิก
ความสัมพันธ์ระหว่างจิตใจและผิวหนัง
(The Mind and Skin Connection)

ตอนที่ 1...โรคผิวหนังที่เกี่ยวข้องกับโรคทางใจ

ประวิตร พิศาลบุตร พ.บ. , เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง Diplomate, American Board of Dermatology Diplomate, American Subspecialty Board of Dermatological Immunology อาจารย์พิเศษภาควิชาเภสัชกรรม, คณะเภสัชศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข,สภาผู้แทนราษฎร

ความเครียดส่งผลเสียต่อร่างกายหลายอย่าง เช่น ทำให้ลืมง่าย, ไม่มีสมาธิในการทำงาน, หงุดหงิด, โมโหง่าย, ติดยาเสพติด, ปวดท้อง, ปัสสาวะบ่อย, ปวดหัว, นอนไม่หลับ, นอนกัดฟัน ความเครียดยังทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด, ความดันโลหิตสูง, แผลในกระเพาะอาหาร, หืด, ต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ และ โรคจิตโรคประสาท นอกจากนั้นความเครียด หรือความผิดปกติทางจิตใจ ยังมีความสัมพันธ์กับผิวหนังดังนี้